Monday, June 10, 2013

การเลี้ยงหมูเล็กและแม่พันธุ์หลังคลอด
ลูกหมูหลังคลอดเกิดมาแล้วจะปล่อยให้กินนมแม่ไป เรื่อย ๆ จากลูกหมูมีอายุ 45 - 50 วันก็จะหย่านม การหย่านมนั้นก็ทำโดยปล่อยลูกหมูให้อยู่ในคอกตามปกติแต่จะไล่ต้อนแม่หมูออก จากคอกไปเลี้ยงยังคอกที่ว่าง แต่ในช่วงก่อนที่จะอย่านมนั้นลูกหมู นอกจากจะได้รับนมจากแม่ของมันแล้วลูกหมูก็จะได้กินอาหารหมูอ่อนตามไปด้วย ทั้งนี้และทั้งนั้นลูกหมูจะเริ่มหัดเลียรางตามแม่ของมันเมื่อมีอายุได้ ประมาณ 15 วัน
ฉะนั้นในช่วงนี้จึงต้องใส่อาหารหมูอ่อนให้อาหารนั้นก็เป็นอาหารอัดเม็ดของหมูบ้านที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปนั่นเอง ปริมาณการให้อาหารจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามกำลังความสามารถของลูกหมูที่จะกินได้ แม้ว่าจะหย่านมลูกหมูแล้วก็ตาม ลูกหมูก็จะได้รับอาหารอัดเม็ดนี้ต่อไปอีกประมาณ 10 วัน หรือลูกหมูมีอายุประมาณ 60 วันนั่นเอง จึงเปลี่ยนเป็นอาหารลูกขุนซึ่งเป็นอาหารผสมเอง
สำหรับแม่พันธุ์ที่ทิ้งลูกไปแล้วนั้นก็จะเลี้ยง อาหารหมูพันธุ์ตามปกติ ซึ่งจะให้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 13% เท่านั้น ปริมาณการให้ในแต่ละตัวในบรรดาพ่อแม่พันธุ์ทั้งหมดนั้นก็ใช้ตัวละประมาณไม่ เกิน 1 กิโลกรัม ต่อวัน การให้อาหารจะให้กินสองเวลาด้วยกันกล่าวคือเวลาเช้า ประมาร 7.00 น. ให้อาหารประมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมและอาจจะให้อีกเวลา 15.00 น.ในปริมาณเท่า ๆ กัน ส่วนน้ำนั้นก็มีให้ตลอดอาจใช้การให้น้ำแบบอัตโนมัติเหมือนกับหมูบ้านที่ เลี้ยงกันโดยทั่วไปก็ได้
การให้หัดให้กินน้ำจากที่ให้น้ำอัตโนมัติในช่วงแรกนั้น เพียงแต่กดให้น้ำไหลและเมื่อหมูป่าเกิดความหิวมันก็จะเข้ามากัดก๊อกน้ำกินเอง หลังจากหย่านม 1 อาทิตย์ แม่หมูจะเป็นสัดให้ผสมต่อได้ (ตัวเมียเป็นสัด 21 วันครั้ง) ทำให้ได้ลูก 2 ครอกต่อปี
การเลี้ยงดูหมูขุน
ในการเลี้ยงดูหมูขุนนั้นจะให้อาหารสองเวลา เช้า 7.00 น. และบ่ายเวลา 15.00 น. เหมือนกันโดยให้ในปริมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมต่อเวลาต่อตัว เมื่อลูกหมูมีอายุ 4 เดือนก็จะทำการถ่ายพยาธิและอีก 4 เดือน ถัดไปก็ถ่ายพยาธิอีกครั้ง หมูขุนที่เลี้ยงในฟาร์มนี้ ควรจัดให้อยู่คอกละประมาณ 4 ตัว (คอกขนาด 2-2.50 x 3เมตร)
ฉะนั้นอาหารที่ให้ก็เฉลี่ยให้รวมทั้ง 4 ตัว อาหารที่ให้นั้นจะมีโปรตีนต่ำเพียง 9% เท่านั้น ระยะขุน 2 เดือนแรกนั้นจะเร่งการเจริญเติบโตถึงการให้อาหารโปรตีน 13 % สำหรับอาหารที่ให้นั้นก็มีส่วนประกอบของรำละเอียด ปลายข้าว รำหยาบ และหัวอาหาร รำยาบนั้นให้เพื่อเป็นยาระบายและใส่ลงไปโดยไม่ได้คิดโปรตีนรวมด้วย
การให้อาหารจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อหมูโตขึ้นด้วยจนกระทั้งสามารถจับจำหน่ายได้ (การให้อาหารเฉลี่ยตั้งแต่เล็กไปจนจำหน่ายได้นั้นจะใช้ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน)
การเลี้ยงดูหมูขุนเพื่อส่งตลาดเวลาที่เลี้ยงจะแตก ต่างกัน คือ ถ้าเป็นพันธุ์หน้าสั้นจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ส่วนพันธุ์หน้ายาวจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ทั้งนี้เพราะหมูป่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดก็ตรงหนังของมัน พันธุ์หน้าสั้นหนังจะหนาเร็วเลยถูกเชือดเร็ว พันธุ์หน้ายาวหนังหนาช้าก็ยืดเวลาเชือดออกไปอีก 4 เดือน ทีนี้จะมีคนถามอีกว่าถ้าเอาพันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้ายาว(ตัวผู้หน้า ยาวตัวเมียหน้าสั้น) ก็จะได้ลูกผสมที่มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์หน้าสั้น หนังหนาเร็วกว่าพันธุ์หน้ายาว และใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8 เดือนจึงส่งเชือด เกี่ยวกับต้นทุนค่าอาหาร เมื่อคิดคำนวณต้นทุนอาหารแล้วตกราว 800 กว่าบาทเท่านั้น
ตลอดระยะเวลาเลี้ยงขุน 1 ปีเต็ม ซึ่งจะให้ได้หมูป่าที่มีน้ำหนักประมาณ 60-70 กิโลกรัม แต่เมื่อผ่าซากออกมาแล้วจะได้ส่วนของเนื้อประมาณ 40 กิโลกรัมเท่านั้น คิดคำนวณอัตราการแลกเนื้อแล้วจะได้ประมาณ 2 เท่า เมื่อขายได้ราคาประมาณตัวละสองพันบาทเศษ หากว่าเราสามารถเพาะพันธุ์หมูป่าได้เอง เมื่อคิดหักลบต้นทุนการเลี้ยงด้านต่าง ๆ แล้วจะมีกำไรอยู่ไม่น้อย

0 comments:

Post a Comment

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!