การผสมพันธุ์หมูป่าและการคลอดลูกของหมูป่า
โดยทั่วไปแล้วอายุที่เหมาะสมสำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่เริ่มผสมพันธุ์ครั้งแรกจะประมาณ
1 ปี สำหรับการผสมพันธุ์หมูป่านั้นหากใช้พันธุ์เดียวกัน เช่น พันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้าสั้น
หรือพันธุ์หน้ายาวผสมกับพันธุ์หน้ายาวนั้นจะให้ลูกไม่ดก ไม่แข็งแรง โตช้าให้น้ำหนักน้อย
ถ้าหากเอาพันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้ายาวแล้ว ลูกที่ออกมาจะมีลักษณะดี
โตเร็วกว่าพ่อแม่ประมาณ 1 ใน 3 โตเร็ว และแข็งแรง ซึ่งถ้าหากเป็นระหว่างสายพันธุ์เดียวกันจะติดลูกประมาณ
5-7 ตัว แต่ถ้าเป็นการผสมคนละสายพันธุ์ก็จะติดลูกสูงสุดถึง 12 ตัว อย่างไรก็ตามจะมีลูกหมูเหลือรอดเพียงแค
10 ตัวเท่านั้น
ในการผสมพันธุ์ก็จะใช้อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อ
แม่พันธุ์ประมาณ
1 : 7 การผสมพันธุ์ก็จะทำกันในวันที่ 3 ของการเป็นสัด (ของตัวเมีย)
โดยจะต้อนตัวเมียเข้าไปหาตัวผู้และให้ผสมกับตัวผู้ตัวแรกในช่วงเช้าจากนั้น
ก็จะต้อนตัวเมียตัวเดิมให้ไปผสมกับตัวผู้ตัวที่
2 ในช่วงเย็น
ข้อควรระวังในเรื่องการใช้ตัวผู้เป็นพ่อพันธุ์
ไม่ควรใช้ผสมทุกวัน ทางที่ดีควรใช้ผสมวันเว้นวัน และในวันที่ผสมนั้นให้ผสมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
แม่พันธุ์ที่ถูกผสมพันธุ์และผสมติดแล้วจะตั้งท้องนานประมาณ 114-117 วัน (หรือประมาณ
3 เดือน 3 อาทิตย์ 3 วัน) เมื่อได้คำนวณวันที่จะคลอดได้แล้ว ก่อนที่จะคลอดให้เตรียมคอกคลอดเอาไว้
โดยการโรยดินบาง ๆ บนพื้นคอกตลอด เพื่อให้ลูกหมูรู้จักเหมือนกับว่าได้เกิดตามธรรมชาติ
และจะล้างดินออกหลังจากคลอดแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์
การคลอดลูกของหมูป่า
ในการคลอดลูกนั้นแม่หมูป่าจะคลอดเอง
โดยไม่มีใครไปช่วยทำคลอดแต่อย่างใด
เพราะว่าแม่หมูป่าจะดุร้ายมากเข้าไปใกล้ตัวไม่ได้
ต่อคำถามว่าจะสังเกตรู้ได้อย่างไรว่าแม่หมูกำลังอยุ่ในช่วงที่ใกล้คลอด
ซึ่งก็ขอได้รับคำตอบว่าแม่หมูป่าก็มีอาการกระวนกระวายเหมือนกับหมูบ้านเรา
นี่แหละ
แต่ความรุนแรงก็มีมากกว่าบางครั้งจะมีการกัดคอกกัดกรง
คนเข้าใกล้ไม่ได้เลยจึงต้องปล่อยให้มันคลอดเอง
เมื่อแม่หมูคลอดลูกออกมาท่ามกลางกองดินลูกที่คลอดออกมาก็สามารถลุกยืนได้
แต่ถ้าหากว่าคลอดในคอกพื้นปูนแล้วลูกหมูจะยืนไม่ค่อยได้เพราะว่าคอกมีความ
ลื่นทั้งนี้เนื่องจากว่าคอกหมูป่านี้เป็นพื้นปูนที่ขัดมันนั่นเอง
ลูกหมูที่คลอดมาแต่ละครอกมีปริมาณเฉลี่ยแล้วประมาณ 6 ตัว
ในแม่หมูสาวจะให้ลูกน้อยกว่าหมูที่มีอายุมาก อย่างไรก็ตามอัตราการรอดของลูกหมูก็มีไม่เกิน
10 ตัว แม้ว่าแม่หมูตัวนั้นจะคลอดลูกได้มากกว่า 10 ตัวก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่าเต้านมของหมูป่ามีเพียง
10 เต้าเท่านั้นมีไม่มากเกินนี้ ถ้าหากว่าแม่หมูป่าตัวใดมีเต้านมมากกว่า
10 เต้า แสดงว่าหมูนั้นเป็นหมูลูกผสม
ในขณะเดียวกันการกินนมของลูกหมูจะกินเต้าใครเต้า
มัน
ฉะนั้นลูกหมูที่มีขนาดเล็กเกิดมาแล้วแย่งเต้านมกับเขาไม่ได้ก็ไม่สามารถกิน
นมได้ก็ทำให้ผอมตายไป
จึงทำให้ลูกหมูแต่ละครอกรอดตายได้ไม่เกิน 10 ตัว
แม้ว่าจะนำออกมาเลี้ยงด้วยนมผงก็ตาม
แต่ก็เลี้ยงไม่รอดอาจเป็นเพราะว่านมผงไม่มีภูมิต้านทานโรคก็อาจจะเป็นได้
ดังนั้นควรจับให้ลูกหมูได้กินนมน้ำเหลืองซึ่งมีตอนแรกคลอดก่อนทุกตัวเพราะใน
นมน้ำเหลืองนี้มีภูมิคุ้มกันโรคอยู่มาก
การนำลูกหมูในครอกที่มีเกิน 10 ตัว ไปฝากแม่พันธุ์ตัวอื่น
นั้นไม่สามารถทำได้เพราะจะถูกแม่หมูกัดตายเนื่องจากมันรู้ว่าไม่ใช่ลูกของมันโดยสัญชาติญาณนั่นเอง
จึงจำไว้ว่าอย่านำลูกหมูป่าจากแม่หนึ่งไปให้อีกแม่เลี้ยง เพราะมันจะขบตายหมดจะเลี้ยงเฉพาะลูกของตัวเอง
0 comments:
Post a Comment